ภาษาคอมพิวเตอร์
เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับเครื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อควบคุมและสั่งงานให้เครื่องทำงานตามคำสั่งเพื่อให้ผลลัพธ์ตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ซึ่งในปัจจุบัน ภาษาคอมพิวเตอร์ได้มีผู้พัฒนาออกมาหลากหลายภาษา
ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องทำความเข้าใจถึงหลักการเขียนรูปแบบโครงสร้างคำสั่งขอภาษานั้นๆ
โดยภาษาคอมพิวเตอร์แบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ คือ
1.1 ภาษาเครื่อง (Machine
Language) เป็นภาษาเดียวที่เครื่องสามารถปฏิบัติงานตามคำสั่งได้ทันทีโดยไม่ต้องมีตัวแปลภาษาอื่นใดเข้ามาช่วย
ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สุด โดยช่วงก่อนปี ค.ศ. 1952 เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ด้วยภาษาเครื่องภาษาเดียวเท่านั้น
เนื่องจากยุคนั้นยังไม่มีการพัฒนาภาษาระดับอื่นๆ เข้ามาเพื่อช่วยในการทำงาน
อีกทั้งคำสั่งของภาษาเครื่องจะใช้เลขฐานสอง คือ 0 กับ 1 แทนข้อมูล
และคำสั่งต่างๆ ทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์
หรือหน่วยประมวลผลที่ใช้ นั่นคือแต่ละเครื่องก็จะมีรูปแบบของคำสั่งเฉพาะของตนเอง
ซึ่งนักคำนวณและนักเขียนโปรแกรมในสมัยก่อนต้องจักวิธีที่จะรวมตัวเลขเพื่อแทนคำสั่งต่างๆ
ทำให้การเขียนโปรแกรมยุ่งยากมากไม่เหมาะสำหรับการพัฒนาโปรแกรมทางด้านธุรกิจ
1.2 ภาษาระดับต่ำ
(Low level language) เนื่องจากภาษาเครื่องเป็นภาษาที่ยากแก่การทำความเข้าใจและยากในการประยุกต์ใช่งาน
ทำให้ผู้มีพัฒนารหัสและสัญลักษณ์มาแทนตัวเลข 0 กับ 1 โดยใช้อักขระในภาษาอังกฤษมามีส่วนร่วมในการสั่งงาน
จึงทำให้มีการสั่งงานได้ง่ายยิ่งขึ้นแต่ก็ยังคงยากสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาโปรแกรม
ซึ่งได้แก่ ภาษาแอสเซมบลี ( Assembly language ) เกิดขึ้นปี
ค.ศ. 1952 โดยภาษาแอสเซมบลีใช้รหัสเป็นคำแทนคำสั่งภาษาเครื่อง
ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น
ถึงแม้ว่าการเขียนโปรแกรมจะยังไม่สะดวกเท่ากับการเขียนโปรแกรมภาษาอื่นๆ ในสมัยนี้
แต่ท้าเปรียบเทียบใยสมัยนั้นถือว่าเป็นการพัฒนาไปสู่ยุคของการเขียนโปรแกรมแบบใหม่
ถือใช้สัญลักษณ์แทนเลข 0 และ 1 ของภาษาเครื่อง
แม้ว่าจะเป็นภาษาที่ใกล้เคียงภาษาเครื่องแต่ละโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีต้องใช้ แอสเซมบลี (
Assembly ) แปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง
เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการอีกทอดหนึ่ง
1.3 ภาษาระดับสูง
(High level Language) เริ่มถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1960 โดยภาษาระดับสูงจะใช้คำในภาษาอังกฤษแทนคำสั่งต่างๆ
รวมทั้งสามารถใช้นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ไดด้วยทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถใช้เวลามุ่งไปในการศึกษาเท่านั้น
ไม่ต้องเป็นกังวลว่าคอมพิวเตอร์จะทำงานอย่างไรอีกต่อไป
1.4 ภาษาระดับสูงมาก
(Very High-level Language) หรือภาษายุคที่ 4 (Fourth-Generation
Language) หรือ 4 GLs เป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมได้สั้นกว่าภาษายุคก่อนๆ โดยภาษายุคที่4
นี้มีคุณสมบัติที่จะแยกภาษายุคก่อนอย่างชัดเจน
กล่าวคือภาษาในยุคก่อนนั้นใช้หลักการของการเขียนโปรแกรม แบบโพรซีเยอร์ (Procedure
Language) ซึ่ในขณะภาษายุคที่ 4 จะเป็นแบบ ไม่ใช่โพรซีเยอร์ (Non-Procedure
Language) ผู้เขียนโปรแกรมเพียงแต่กำหนดว่าต้องการให้โปรแกรมทำอะไรบ้างก็สามารถเขียนโปรแกรมได้ทันที
โดยไม่ต้องทราบว่าทำได้อย่างไร ทำให้การเขียนโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว
และภาษายุคที่
4 นี้ยังมีภาษาที่ใช้สำหรับเรียกข้อมูลจากฐานข้อมูลได้ เรียกว่า ภาษาเรียกค้นข้อมูล (Query
language) โดยปกติแล้วการเก็บข้อมูล การแสดงรายการจากฐานข้อมูลต้อง
จะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า
แต่บางครั้งอาจมีการเรียกข้อมูลพิเศษทีไม่ได้มีการวางแผนไว้ถ้าผู้ใช้เรียนภาษาเรียกค้นข้อมูลก็ต้องดูรายงานต่างๆ
นอกเหนือจากที่ได้มีการวางแผนไว้ได้โดยใช้เวลาไม่มากนัก ภาษาเรียกค้นข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน
เรียกว่า Query Bu Example หรือ QBE ที่ได้รับความนิยมในการใช้งานมากเช่นกัน
1.5 ภาษาธรรมชาติ
(Nature language) เป็นภาษายุคที่ 5 Fifth Generation language หรือ 5GLs
ธรรมชาติ
หมายถึง ธรรมของมนุษย์ คือ ไม่ต้องสนใจถึงคำสั่งหรือลำดับของข้อมูลที่ถูกต้อง
ผู้ใช้เพียงแต่พิมพ์ที่ต้องการลงในคอมพิวเตอร์เป็นคำหรือประโยคตามที่ผู้ใช้เข้าใจซึ่งจะทำให้มีรูปแบบของคำสั่งหรือประโยคที่แตกต่างกันออกไปได้มากมาย
เพราะผู้ใช้แต่ละคนอาจจะใช้ประโยคต่างกัน ใช้คำศัพท์ต่างกัน หรือแม้กระทั้งบางคนอาจจะใช้คำศัพท์แสลงก็ได้
คอมพิวเตอร์จะถามผู้ใช้เพื่อยืนยันความถูกต้อง ภาษาธรรมชาตจะใช้ ระบบฐานความรู้ (Knowledge
Base System) ช่วยในการแปลความหมายของคำสั่งต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น