โครงสร้างภาษาซี
การเขียนโปรแกรมภาษาซีจะต้องเขียนด้วยอักษรภาษาอังกฤษตัวพิพม์เล็กเสมอ
และเมื่อจบประโยคคำสั่งแต่ละคำสั่ง จะใช้เครื่องหมายเซมิโคลอน ( ; ) ในการคั่นคำสั่งแต่ละคำสั่ง
มีโครงสร้าง
ส่วนประกอบของโปรแกรมภาษาซีอาจแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
1.ส่วนหัวโปรแกรม
(Head File ) หรือคอมไพเลอร์ไดเรกทีฟ ( Compiler Directive) เป็นส่วนของโปรแกรมที่ใช้สำหรับเป็นตัวบอกคอมไพเลอร์ว่าให้รวมไฟล์ต่างๆ
ที่กำหนดไว้ในส่วนนี้กับตัวโปรแกรมที่เขียนขึ้น
โดยต้องเขียนตามรูปแบบที่กำหนดไว้ดังนี้
#include <library>
|
เช่น
#include <stdio.h>
#include <conio.h>
เป็นต้น
ซึ่งถ้าผู้เขียนโปรแกรมอยากรู้ว่าไลบรารี่ที่เรียกให้ใช้งานมีฟังก์ชั่นหรือโพซีเยอร์ใดๆ
ให้ใช้งานใดบ้าง เพียงแค่นำเคอร์เซอร์ไปกระพริบให้ตรงกับชื่อของไลบรารี่นั่นแล้ว
กด ctrl+f1 ก็จะสามารถดู Help ทั้งหมดไลบรารี่นั้นๆ ได้
2.ฟังก์ชั่นหลัก
( main Function ) หรือโปรแกรมหลัก ( Main Program ) เป็นส่วนที่ผู้เขียนต้องเขียนขึ้นเองโดยนำเอาคำสั่งหรือฟังก์ชันมาตรฐานต่างๆ
มาเรียบเรียงกันขึ้นเป็นโปรแกรมเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล
โดยมรโครงสร้างดังนี้
Main()
{
…
}
|
Main เป็นฟังก์ชันหลักของโปรแกรม
() ภายในวงเล็บจะเป็นการกำหนดค่าพารามิเตอร์ที่ต้องส่งผ่านไปทำงานยังฟังก์ชันอื่นๆ
ถ้าไม่มีการใส่ค่าแสดงว่าไม่ต้องการมีค่าพารามิเตอร์
{ - } ซึ่งภายในเครื่องหมายปีกกาประกอบด้วยคำสั่งต่างๆ ดังนี้
• ส่วนของการประกาศตัวแปร (Declaration)
• ส่วนนำข้อมูล (Input)]
• ส่วนกำหนดค่า / หรือคำนวณ (Assignment or Computation)
• ส่วนแสดงผลลัพธ์ (Output)
การหมายเหตุ
หรือ Comment เพื่อใช้หมายเหตุหรืออธิบายรายละเอียดของโปรแกรมสามารถเขียนได้ดังนี้
/*ข้อความ*/ คำอธิบายโปรแกรม
ใช้ในการอธิบายความหมายของคำสั่งหรือสิ่งที่ต้องการเขียนไว้กันลืมจะไม่มีผลใดๆ
กับโปรแกรม แต่การเขียนจะต้องเริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย /* และจบด้วยด้วยเครื่องหมาย
*/
3. ฟังก์ชันย่อย
(Sub Function) หรือโปรแกรมย่อย (Sub Program) เป็นส่วนที่ผู้เขียนต้องเขียนขึ้นเอง
โดยเอาคำสั่งหรือฟังก์ชันมาตรฐานต่างๆ
มาเรียบเรียงกันเพื่อให้โปรแกรมหลักหรือฟังก์ชันอื่นๆ
สามารถเรียกเพื่อประมวลผลโดยสามารถส่งผ่านค่าพารามอเตอร์ (Pass by
Parameter) หรือไม่ผ่านค่าพารามิเตอร์ (Non-Parameter) โดยมีโครงสร้างดังนี้
ชื่อฟังก์ชัน()
{
…
}
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น