ต้นหางนกยูงฝรั่ง
ชื่อสามัญ Flamebuoyant Tree, Flam of the forest, Peacock flower
ชื่ออื่น นกยูงฝรั่ง อินทรี (ภาคกลางทั่วไป), ส้มพอหลวง (ภาคเหนือ), หงอนยูง (ภาคใต้)
วงศ์ LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
ถิ่นกำเนิด เป็นไม้พื้นเมืองของเกาะมาดากัสการ์ และแอฟริกา ค้นพบโดยนักพฤกษศาสตร์
ในปี พ.ศ. 2367 ในปัจจุบัน ได้นำมาแพร่หลายเข้ามาปลูกในประเทศเขตร้อน
เช่น อินเดีย พม่า มาเลเซีย และไทย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ต้นหางนกยูงฝรั่ง
ไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง สูง 10-18 ม. เปลือกต้นสีเทาเกลี้ยง เรือนยอดแผ่กว้างและกลมคล้ายร่ม ลำต้นสีเทา โตเร็ว
ใบ ใบเรียงเวียนสลับ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยขนาดเล็กและมีจำนวนมาก
ดอก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือกิ่งข้าง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ จนาดไม่เท่ากัน กลีบดอก 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน สีแดงอมส้ม สีแดง สีส้ม สีเหลือง เกสรเพศผู้มี 10 อัน อยู่แยกอิสระ เมื่อดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 ซม.ออกดอกช่วง เดือนเมษายน -มิถุนายน
ผล เป็นฝักใหญ่ แบน เปลือกแข็ง กว้าง 3-5 ซม. ยาว 30-60 ซม. ฝักเมื่อแก่จะแตก เมล็ดเรียงตามขวาง มี 20-40 เมล็ด ฝักแก่จะมีสีน้ำตาลดำ เมื่อฝักแก่จะแตกทั้ง สองด้าน เมล็ดภายในฝักมีราว 40-60 เม็ด มีลักษณะกลมยาว สีเทาดำขอบสีขาว เปลือกเมล็ดแข็งมาก ฝักจะแก่ประมาณเดือน กรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม
ประโยชน์ของต้นหางนกยูงฝรั่ง
หางนกยูง เป็นไม้ที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ และไม้ให้ร่มเงาบริเวณอาคารบ้านเรือน สถานที่ราชการ ริมถนน และในสวนสาธารณะ เพราะมีพุ่มใบและมีช่อดอกที่สวยงาม เลี้ยงง่าย โตเร็ว ชอบขึ้นในที่ที่มีการระบายน้ำได้ดี ค่อนข้างแห้งแล้ง ดินร่วนปนทรายหรือดินที่ไม่เหนียวจนเกินไป ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เปลือกเมล็ดแข็งมาก ก่อนเพาะควรขลิบเปลือกออกเล็กน้อย แต่อย่าให้ถูกต้นอ่อนของเมล็ด จะช่วยให้งอก ได้เร็วขึ้น ต้นหางนกยูงฝรั่ง เป็นสัญลักษณ์ หรือเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีธงประจำมหาวิทยาลัยสีเหลืองแดง เหมือนกับ สีของดอกหางนกยูงฝรั่ง บางทีเรียกว่า "ยูงทอง" แต่ต้นดอกสีเหลือง จะหายากสักหน่อย เพราะที่ปลูกทั่วไปจะพบแต่ดอกสีแดง ส้ม หรือส้มแดง
ส่วนเมล็ดใช้ประกอบอาหาร เช่น ต้มนำตาลราดกระทิ เป็น ขนมหวาน
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น